การจัดการปัญหาการคั่งค้างของเสมหะ (management of sputum retention)

Last updated: 26 ส.ค. 2562  |  3775 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การจัดการปัญหาการคั่งค้างของเสมหะ (management of sputum retention)

1. การฝึกการไอด้วยวิธี Huff Cough

   Low level huffing 3 ครั้ง และตามด้วย High level huffing 3 ครั้ง 

   1.1  Low level huffing เป็นการทำให้เสมหะที่อยู่ในหลอดลมขนาดเล็กเคลื่อนที่เข้าสู่หลอดลมขนาดใหญ่

          - หายใจเข้าทางจมูกช้าๆให้ลึกที่สุด กลั้นหายใจไว้ 3 วินาที 

          - ค่อยๆเปิดปากและขับเสมหะออกมาโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องหดเกร็ง

          - ทำจนหมดลม จึงเริ่มหายใจเข้าใหม่อีกครั้งจนครบ 3 ครั้ง

    1.2  High Level Huffing เป็นการทำให้เสมหะที่อยู่ในหลอดลมขนาดใหญ่เคลื่อนที่ออกจากปอด

           - หายใจเข้าทางจมูกช้าๆให้ลึกที่สุดจนไม่สามารถหายใจเข้าได้อีกให้สูดลึกอีก 1 ครั้งและกลั้นหายใจไว้ 3 วินาที 

             - พ่นลมออกทางปากให้เร็วและแรง คล้ายทำเสียง ฮ่า ฮ่า (แบบไม่มีเสียง) 

           - ทำให้ครบ 3 ครั้ง


2. การหายใจผ่านอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดแรงสั่น (oscillation) เช่น flutter, acapella หรือ water pressure threshold device
เป็นต้น เพื่อช่วยร่อนระบายเสมหะภายในทางเดินหายใจ

3. การจัดท่าระบายเสมหะ (postural drainage) ตามตำแหน่งกลีบปอดที่มีเสมหะคั่งค้าง โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกช่วยส่งเสริมการไหลของเสมหะ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้