การดูแลผู้ป่วยแผลเรื้อรัง แผลกดทับ แผลเบาหวาน

Last updated: 27 ต.ค. 2560  |  15386 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การดูแลผู้ป่วยแผลเรื้อรัง แผลกดทับ แผลเบาหวาน

ผู้ป่วยที่เสี่ยงกับการเกิดแผลเรื้อรังได้แก่

  1. โรคเบาหวาน
  2. นอนติดเตียง
  3. โรคหลอดหลอดดำบกพร่องที่ขา

ในกรณีคนไข้นอนติดเตียง สิ่งที่จะช่วยป้องกันในการเกิดแผลกดทับคือที่นอน และการพลิกตะแคงตัวทุก 2 ชม. 

กลไกปกติเมื่อเกิดแผลแล้วร่างกายจะต้องมีขบวนการซ่อมแซมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ตลอดขบวนการสมานแผลร่างกายจะปล่อยน้ำในรูปของสารคัดหลั่งในปริมาณที่พอเหมาะ มากวาดล้างแผลให้สะอาด ชุ่มชื้น 

ถ้าเราดูแลแผลดีตั้งแต่เริ่มแรกก็จะทำให้แผลหายเร็วขึ้น แต่ถ้าเราดูแลผิดขั้นตอนหรือปล่อยปละละเลยจนแผลเกิดการอักเสบและติดเชื้อซ้ำไปซ้ำมา และเกิดเนื้อตายซึ่งจะเป็นอาหารแก่เชื้อโรคมากยิ่งขึ้น สุดท้ายก็จะกลายเป็นแผลเรื้อรัง

หลักการสำคัญคือวิธีการเตรียมแผลให้อยู่ในสภาวะเหมาะสมแก่การซ่อมสร้างเนื้อเยื่อ โดยใช้หลักการ TIME concept

1. Tissue debridement คือการเอาเนื้อตายออก เพราะเนื้อตายจะยับยั้งการเกิด Granulation การเติบโตของเนื้อดี ซึ่งวิธีเอาเนื้อตายออกที่เร็วสุดคือให้คุณหมอใช้มีดผ่าตัดหรือที่จี้ไฟฟ้าตัดออก (ข้อดีคือเร็ว ข้อเสียคือเจ็บตัวหน่อย) วิธีอื่นที่ได้ผลช้าหน่อยแต่ไม่เจ็บตัวคือใช้ยาเป็นตัวช่วยให้เนื้อตายหลุดลอกได้เร็วขึ้น
   - ถ้าเนื้อตายไม่เยอะมากสามารถเลือกใช้ Intrasite gel, Tegaderm hydrogel, Duoderm hydroactive gel, Askina gel อย่างใดอย่างหนึ่งทาให้ทั่วแผลหลังจากทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือแล้ว และปิดด้วยแผ่นปิดแผล ถ้าใช้หนังเทียมในการปิดแผลอาจทำแผลทุกๆ 2-5 วันได้ ซึ่งตัวเจลจะทำให้แผลมีความชุ่มชื้นที่พอเหมาะและมีอุณหภูมิที่คงที่ ทำให้การกำจัดเนื้อตายโดยการใช้เอนไซม์ของร่างกายเองค่อยๆกำจัดเนื้อตายออกไปอย่างช้าๆ (Autolytic Debridement)
   - ถ้าเนื้อตายเยอะมาก แนะนำให้ใช้ Iruxol MONO ซึ่งจะมีเอนไซม์ที่ช่วยในการตัดเนื้อตายออกให้เร็วยิ่งขึ้น (Enzymatic Debridement) โดยหลังจากล้างแผลด้วยน้ำเกลือแล้วทาให้ทั่วบริเวณเนื้อตายและปิดด้วยผ้าก๊อส ในกรณีนี้ต้องทำแผลทุกๆวัน วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น ซึ่งได้ผลดี แต่ราคาค่อนข้างสูง และห้ามใช้ร่วมกับ Silveral cream

2. Infection and Inflammatory control คือการป้องกันและพยายามลดการติดเชื้อ ซึ่งถ้าแผลมีลักษณะการติดเชื้ัออาจเลือกใช้
   - Silveral cream ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรือ 
   - Acticoat แผ่นปิดบนแผล ซึ่งจะค่อยๆปล่อยผลึก nanosilver ช่วยในการฆ่าเชื้อ
   - แผ่นปิดแผลที่มี Ag+ ซิลเวอร์เป็นส่วนประกอบ เช่น Aquacel Ag+

3. Manage of exudate คือการกำจัดน้ำในแผลที่มากเกินพอดีออก วัสดุที่จะใช้ขึ้นอยู่กับการประเมินสภาพแผลเช่น
   - แผลแห้ง หรือแฉะน้อยไม่มาก เลือกใช้ Intrasite gel, Tegaderm hydrogel, Duoderm hydroactive gel, Askina gel
   - แผลแฉะมากๆ ใช้แผ่นปิดแผล Hydrofiber ต่างๆเช่น Duoderm, Aquacel Foam, Cutinova hydro, Allevyn, UrgoStart, UrgoClean ขึ้นกับระดับเกรดของแผล

4. Edge of wound ถ้ามีขอบแผลม้วนเข้า ต้องตัดออกให้เรียบร้อย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้